วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2



บันทึกการเรียนครั้งที่ 2  วันพุธที่  18  มกราคม  2560

ครั้งที่   2

เพื่อนๆนำเสนอ  คำคมที่เเกี่ยวกับการบริหาร

เลขที่ 1  นางสาวสายสุดา  ปักษากุล



เลขที่ 2     นางสาวจันจิรา    นามวิชา




เลขที่    3   นางสาววันเพ็ญ    ใหม่สุด






ความหมายของการบริหารการศึกษา
 ( Education Administration )


การบริหารการศึกษา แยกออกเป็น 2 คำ คือ การบริหาร และ การศึกษา ความหมายของ “การบริหาร” มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน คือ
     * การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
     * การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
     * การบริหาร คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
     ** จากความหมายของ “การบริหาร” พอสรุปได้ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้


ส่วนความหมายของ “การศึกษา” มีผู้ให้ความหมายไว้คล้ายๆกัน ดังนี้
* การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
* การศึกษา คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต
* การศึกษา คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล
** จากความหมายของ “การศึกษา” ข้างบนนี้พอสรุปได้ว่า “การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”


ความหมายของการบริหารสถานศึกษา

วีรชัย  วรรณศรี (2545) การบริหารสถานศึกษา หมายถึง กระบวนการต่างๆ ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิกในสังคมให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
วิโรจน์  สารัตนะ (2546) กล่าวว่า การการบริหารเป็นกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดหมายขององค์กร โดยอาศัยหน้าที่ทางการบริหารที่สำคัญประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การนำ (Leading) และการควบคุม(Controlling)
เฉลิมชัย  สมท่า (2547)  กล่าวว่าการบริหารโรงเรียนเป็นกิจกรรมทางการศึกษาที่จะต้องทำอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สรุปการบริหารสถานศึกษา
สรุปได้ว่า การบริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหรือผู้นำดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร โดยใช้กระบวนการบริหารกลุ่มบุคคล กระบวนการต่างๆ ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำใหม่ เป็นผู้นำทางความคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างแรงจูงใจและจัดสรรการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เป็นกลุ่มงานที่สัมพันธ์กันอย่างดี มีพลังคนที่มีความสามารถพร้อมสร้างบุคลากรให้ทำงานได้อย่างถูกต้องเพื่อให้บุคลากรร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพของงานภายในสถานศึกษาและให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิกของสังคม 

ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา
จันทรานี  สงวนนาม (2545) กล่าวว่า เพื่อความอยู่รอดขององค์กร การเรียนรู้เพื่อบริหารองค์กร จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของงานบุคลากรตลอดจนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม
นงลักษณ์  วิรัชชัย (2545) กล่าวว่า การปฏิรูปสถานศึกษาจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารผู้บริหารมีคุณลักษณะต่อไปนี้ คือ มีความสามารถทางการบริหารตลอดจนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม
Mckinson (2550) กล่าวว่า มนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหาร ถึงแม้ว่าคุณค่าของมนุษย์จะเป็นสิ่งจับต้องไม่ได้และไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์กำหนดคุณค่าเช่นเดียวกับวัตถุหรือสินค้าอื่นใด แต่ก็ยังถือว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีค่าและมีเกียรติสูงสุด

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสถานศึกษา
พัฒนาการของทฤษฏีทางการบริหาร


ทฤษฏี X และทฤษฏี Y
เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับทัศนะเกี่ยวกับผู้บริหารที่มีต่อคนงาน
— ทัศนะของผู้บริหารจะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานของเขาด้วย
— เขาเห็นว่า องค์การแบบเดิม (รวมศูนย์ สื่อสารบนลงล่าง) ไม่ช่วยให้เกิดผลผลิต แต่สะท้อนธรรมชาติของมนุษย์ เรียกว่าทฤษฏี X
— ทฤษฏี X มองว่าคนไม่ชอบทำงาน เลี่ยงความรับผิดชอบ
— ไม่ทะเยอทะยาน ชอบให้สั่งการ ต้องใช้เงินจูงใจ ต้องควบคุมมาก
— ทฤษฏี Y มองว่า คนจะให้ความร่วมมือถ้าพอใจในสภาวะการทำงาน
— คนขยันไว้ใจได้ ควบคุมตนเองได้ มีความคิดริเริ่มในการทำงาน ถ้าได้รับการจูงใจที่ถูกต้องจากเพื่อนร่วมงาน
— คนจะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น